จ้างมันเต๊อะ…ศูนย์ภาคเหนือ

นำแสดงโดย อังคณา บุญเกิด, แสงเทียน ธารกมลโสภา, สิริลักษณ์ ศรีมณี และ ณัฎฐา จันสุวรรณกุล

ระบำตารีกีปัส…ศูนย์ภาคใต้

ตารีกีปัสเป็นระบำที่ต้องอาศัยพัดเป็นองค์ประกอบสำคัญ เป็นการแสดงที่แพร่หลายในหมู่ชาวไทยมุสลิม โดยเฉพาะในจังหวัดปัตตานี ลีลาของการแสดง อาจจะมีพลิกแพลงแตกต่างกันไป สำหรับการแสดงชุดนี้ ได้ปรับปรุงท่ารำ เพื่อให้เหมาะสมกับการแสดงที่เป็นหญิงล้วน
เครื่องดนตรีประกอบการแสดง ได้แก่ ไวโอลิน แมนตาลิน ขลุ่ย รำมะนา ฆ้อง มาลากัส บทเพลงที่ใช้ประกอบการแสดง เพลงตารีกีปัส เป็นเพลงที่ไม่มีเนื้อร้อง บรรเลงดนตรีล้วนๆ มีท่วงทำนองไพเราะอ่อนหวาน สนุกสนานเร้าใจ ความไพเราะของเพลงตารีกีปัส อยู่ที่การ Solo เสียงดนตรีทีละชิ้น

 

อีสานบ้านเฮา

สาระสังสรรค์ นศ.มสธ.ศูนย์ อีสานครับ

การสัมมนาออนไลน์ด้วยระบบ E-Learning

23726 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
และเทคโนโลยีทางการบริหารการศึกษา

กิจกรรมออนไลน์ที่ 1
1. สารสนเทศที่ดี ควรมีคุณสมบัติอย่างไร จงอธิบายมาเป็นข้อๆ ให้ชัดเจน [สารสนเทศกับการบริหารการศึกษา]
2. หากสถานศึกษาของท่านต้องการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารขึ้นใช้งาน ในฐานะนักศึกษาปริญญาโททางการบริหารการศึกษา ท่านจะให้คำแนะนำสถานศึกษาของท่านเกี่ยวกับการวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศอย่างไร [การวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศ]
3.เทคโนโลยีสารสนเทศมีความหมายอย่างไร จงอธิบายแสดงเทคโนโลยีย่อยที่เป็นองค์ประกอบเทคโนโลยีสารสนเทศ ว่ามีบทบาทอย่างไรสำหรับการเป็นองค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ [เทคโนโลยีสารสนเทศ]
4. ให้นักศึกษาวิเคราะห์ปัญหาการดำเนินงานของศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารในองค์การที่นักศึกษาสนใจ พร้อมเสนอแนวคิดในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวพอสังเขป [การดำเนินงานของศูนย์สารสนเทศ]
5. จงอธิบายความหมายของคำว่า “ระบบฐานข้อมูล” มาให้เข้าใจ [ระบบฐานข้อมูล]

กิจกรรมออนไลน์ที่ 2
6.ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์คืออะไร แบ่งเป็นประเภทใดได้บ้าง จงอธิบาย [ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์]
7. [การค้นคืนสารสนเทศ]
จงตอบคำถามต่อไปนี้
7.1 การค้นคืนสารสนเทศหมายถึงอะไร มีความสำคัญต่อผู้ใช้บริการสารสนเทศอย่างไร
7.2 เมื่อเปรียบเทียบกับการค้นคืนสารสนเทศผ่านเครือข่ายโทรคมนาคม อะไรคือจุดเด่นของการค้นคืนสารสนเทศบนซีดีรอม
7.3 ขั้นตอนที่ผู้ค้นคืนสารสนเทศควรกระทำก่อนที่จะดำเนินการค้นคืนสารสนเทศด้วยคอมพิวเตอร์ให้ได้ผลดีมีอะไรบ้าง
8. [ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ]
จงตอบคำถามต่อไปนี้
8.1 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจคืออะไรแตกต่างจากระบบผู้เชี่ยวชาญอย่างไร
8.2 องค์ประกอบสำคัญของระบบสนับสนุนการตัดสินใจมีอะไรบ้าง
8.3 ท่านจะมีแนวทางในการนำระบบดังกล่าวมาใช้ในหน่วยงานของท่านอย่างไรบ้าง
9. [วิธีการเชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจ]
จงตอบคำถามต่อไปนี้
9.1 จงอธิบายขอบข่ายวิธีการเชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจ พร้อมอธิบายแนวทางการใช้วิธีการเชิงปริมาณในการตัดสินใจ
9.2 จงอธิบายขั้นตอนของกระบวนการวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจเมื่อมีปัญหาที่ซับซ้อนซึ่งต้องอาศัยแบบจำลองในการตัดสินใจ
9.3 แบบจำลองคืออะไร จะนำมาใช้เพื่อการตัดสินใจได้อย่างไร
10. [สารสนเทศสำหรับการบริหารสถานศึกษา]
จงตอบคำถามต่อไปนี้
10.1 ถ้ายึดภารกิจ (tase) เป็นหลัก สารสนเทศสำหรับการบริหารสถานศึกษา จำแนกได้กี่ประเภท อะไรบ้าง
10.2 ผู้บริหารโรงเรียนจะบริหารงานหลักของโรงเรียนได้ตามจุดมุ่งหมาย จะต้องใช้สารสนเทศประเภทใดบ้าง

กิจกรรมออนไลน์ที่ 3
11.ในการบริหารเชิงระบบของผู้บริหารองค์การ ควรจะต้องมีสารสนเทศใดบ้างในแต่ละองค์ประกอบของระบบ จงอธิบายและยกตัวอย่างให้เห็นจริง [การบริหารเชิงระบบ]
12.สถานศึกษาควรใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการบริหารงานในเรื่องใดได้บ้าง จงอธิบายและยกตัวอย่างให้เห็นจริง [การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการบริหาร]
13. ผู้บริหารสถานศึกษาจะใช้ประโยชน์จากการเป็นสำนักงานอัตโนมัติในเรื่องใดได้บ้าง จงอธิบายและยกตัวอย่างให้ชัดเจน [ สำนักงานอัตโนมัติ]
14. การจัดการความรู้ในสถานศึกษา ควรดำเนินการอย่างไร จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ [การจัดการความรู้ในสถานศึกษา]
15. นักศึกษาคิดว่า หากหน่วยงานที่นักศึกษาปฏิบัติงานอยู่มีการปรับรื้อระบบ (reengineering) น่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรได้บ้างในหน่วยงาน จงระบุการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว [การปรับรื้อระบบ]

รายละเอียดเพิ่มเติม → http://moodle.stou.ac.th/

แผนกิจกรรม ภาคต้น ปีการศึกษา 2555

สำหรับเพื่อนนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนแล้วแต่ยังไม่ได้รับแผนกิจกรรมในการเรียนของ มสธ. ให้ดาวน์โหลดจากลิงค์ด้านล่างนี้นะครับ

สำหรับแผน ก

23788 วิทยานิพนธ์ 1 และ 2

23725 บริบททางการศึกษา

สำหรับ แผน ข

23726 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการและเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา

หรือ Download

23787  การศึกษาค้นคว้าอิสระ

ASEAN Seminar STOU

เอกสารประกอบการบรรยายความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอาเซียน

  1. Ac Report.doc
  2. Ac Report วุฒิ.doc
  3. Ac Report 10.1.55.doc
  4. ASEAN 21st Century Skills
  5. DR.K’s School 2012 English version
  6. ppt การเตรียมสถานศึกษาสู่AC
  7. pptการเตรียมพลเมืองไทยสู่AEC(1มี.ค55)ชลบุรี
  8. present K.Sivika
  9. Presentation1 country report รองปศธ บรูไน
  10. การจัดการศึกษาASEAN&21st Century Skills
  11. การบรรยายเรื่อง ผู้นำในยุคโลกาภิวัตน์.doc
  12. การพัฒนาคุณภาพโรงเรียน(ปรับใหม่)
  13. การศึกษาสหภาพพม่า.doc
  14. การสร้างประชาคมอาเซียน กระทรวง ICT 1มีค2555
  15. ปัญญาภิวัฒน์ PIM 29มี.ค.2555
  16. รร.สช เตรียมการ สู่ AC(26มี.ค.55)
  17. ระบบการศึกษาของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์.doc
  18. สารบัญ_การบรรยายผู้นำยุคโลกาภิวัตน์.doc

ส่วนการ์ตูนหรือเพลงชาติและเอกสารอื่น ๆ จะได้นำเสนอในโอกาสต่อไป….Coming Soon

ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่าการศึกษาสร้างอาคารเรียน

ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่าการศึกษา
เพื่อสร้างอาคารเรียน โรงเรียนศรีแสงธรรม
ณ วัดป่าศรีแสงธรรม ตำบลห้วยยาง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี
วันอาทิตย์ ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2555

……….พระครูวิมลปัญญาคุณ (พระอาจารย์นพพร สู่เสน) และคณะกรรมการวัดป่าศรีแสงธรรม ได้สร้างโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา ได้รับอนุญาตเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2553 เปิดทำการเรียนการสอนระดับมัธยมศึกษา (1-6) โดยมีวัดเป็นศูนย์กลางการพัฒนาเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามแนวชายขอบ ให้เป็นคนดี มีคุณธรรม ส่งเสริมการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นเครื่องดำเนินชีวิต มีทักษะความรู้ความสามารถตามหลักสูตรเต็มศักยภาพของผู้เรียน ดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
……….จากสภาพฐานะทางเศรษฐกิจในชุมชนไม่เอื้ออำนวยในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ส่งผลให้เกิดปัญหาหลายอย่างตามมา เช่นปัญหายาเสพติดตามแนวชายขอบ ปัญหาการไม่พร้อมการมีบุตรก่อนวัยอันควร และปัญหาอื่นๆ ทำให้ทางวัดมีแนวคิดที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน โดยอาศัยกระบวนการทางการศึกษา ทางวัดป่าศรีแสงธรรมเอง ได้ดำเนินการตามกำลังที่มีอยู่อย่างเต็มที่จัดการศึกษาให้แก่เยาวชนในชุมชน ทั้งนี้ได้มีการจัดการเรียนการสอน ฝึกอบรม ให้ทุนการศึกษา มีการจัดสวัสดิการพิเศษให้แก่นักเรียนโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เช่น อาหารกลางวัน รถรับส่ง และชุดนักเรียน เครื่องเขียนแบบเรียนตามนโยบายเรียนฟรีของรัฐบาล ปัจจุบันโรงเรียนศรีแสงธรรมมีนักเรียน 142 คน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในแต่ละปีการศึกษา ทำให้พบว่าทางโรงเรียนไม่สามารถรองรับกับจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องได้เท่าที่ควร จากห้องเรียนมีจำนวนไม่เพียงพอรวมทั้งห้องสมุด และห้องปฏิบัติการต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับจัดการเรียนการสอน จึงได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารเพิ่มขึ้นหนึ่งหลัง ขนาด 52 X 12 เมตร 4 ชั้น จำนวน 12 ห้องเรียน ด้วยประมาณการงบประมาณ จำนวน 13 ล้านบาท เพื่อให้โรงเรียนมีความพร้อมในการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ
……….การมีส่วนร่วมสนับสนุนให้โอกาสทางการศึกษาเพื่อเป็นแนวทางพัฒนาคุณภาพของเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามแนวชายขอบ นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ด้วยการเป็นเจ้าภาพผ้าการศึกษาในครั้งนี้ นับว่าได้สร้างมหากุศลด้วยการให้แหล่งวิชาความรู้เป็นธรรมทาน ซึ่งเป็นทานอันยิ่งใหญ่ดังพุทธภาษิตที่ว่า “สัพพะทานัง ธัมมะทานัง ชินาติ” คือ “การให้ธรรมะ(วิทยาทาน) ชนะการให้ทั้งปวง”
……….ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยและการสั่งบุญในครั้งนี้ จงดลบันดาลให้ท่านและครอบครัวเจริญทั้งทางโลกและทางธรรม มีอายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณ ธนสารสมบัติ ประสบสิ่งอันพึงปรารถนาทุกสิ่งทุกประการถึงที่สุดแห่งการพ้นทุกข์โดยเร็วเทอญ

ท่านสามารถร่วมบริจาคผ่านทางธนาคารได้ที่
“กองทุนการศึกษาวัดป่าศรีแสงธรรม”
ธนาคารกรุงเทพ สาขาย่อยเทสโก้โลตัสพิบูลมังสาหาร เลขที่บัญชี 786 006 3333

ติดต่อสอบถาม หรือขอรับใบอนุโมทนาได้ที่ พระครูวิมลปัญญาคุณ 086 233 1345
http://www.sisaengtham.ac.th E-Mail: sisaengtham@gmail.com
หรือเข้าชมการก่อสร้างอาคารเรียนได้ที่

https://plus.google.com/photos/104014388561968364837/albums/5631605594619641505?banner=pwa

และภาพกิจกรรมของโรงเรียนได้ที่

http://picasaweb.google.com/sisaengtham.ac.th

http://picasaweb.google.com/sisaengtham.ac

http://picasaweb.google.com/sisaengtham

ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561)

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561) ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้  และเห็นชอบหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง พ.ศ. 2552 ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้

                        ข้อเท็จจริง

กระทรวงศึกษาธิการเสนอว่า

1. นับจากที่ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 จนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 10 ปี

ได้มีการประเมินผลการปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า หลายเรื่องประสบผลสำเร็จ เช่น การปรับโครงสร้างการบริหาร จัดการให้มีเอกภาพ  มีการจัดระเบียบบริหารราชการแบบเขตพื้นที่การศึกษา  จัดตั้งสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ตลอดจนการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ  เป็นต้น   แต่ยังมีอีกหลายเรื่องที่ต้องเร่งพัฒนา ปรับปรุง และต่อยอด โดยเฉพาะด้านคุณภาพผู้เรียน  ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการ รวมทั้งการเพิ่มโอกาสทางการศึกษา ที่พบว่ามีสถานศึกษาจำนวนมากยังไม่ได้มาตรฐาน ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ต่ำ ขาดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ทั้งการคิด วิเคราะห์ ใฝ่เรียนรู้และแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง คุณธรรม จริยธรรม ในด้านครู คณาจารย์ พบว่ามีปัญหาขาดแคลนครู คณาจารย์ที่มีคุณภาพ มีคุณธรรม ไม่ได้คนเก่ง คนดี และใจรักมาเป็นครู คณาจารย์ ในด้านการบริหารจัดการพบว่า  ยังไม่มีการกระจายอำนาจการบริหารจัดการทั้งสู่สถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามเป้าหมาย รวมทั้งยังขาดการมีส่วนร่วมในการบริหารและจัดการศึกษาจากทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง

2. ในคราวประชุมสภาการศึกษาเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2552  ได้เห็นชอบให้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ดำเนินการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง โดยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จโดยเร็วต่อไป โดยได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการสภาการศึกษาเฉพาะกิจปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง   เพื่อจัดทำข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในภาพรวม  และให้คณะอนุกรรมการสภาการศึกษา รวม 8 คณะ จัดทำข้อเสนอยุทธศาสตร์และมาตรการในการปฏิรูปการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน การผลิตและพัฒนาครูคณาจารย์  การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษาและการมีส่วนร่วม  การเพิ่มโอกาสทางการศึกษา  การผลิตและพัฒนากำลังคน  การเงินเพื่อการศึกษา  เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา  กฎหมายการศึกษา และการเรียนรู้ตลอดชีวิต การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย Read the rest of this entry

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2554–2559)

…….แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕–๒๕๕๙) ได้จัดทำขึ้นในช่วงเวลาที่ประเทศไทยต้องเผชิญกับสถานการณ์ทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและส่งผลกระทบอย่างรุนแรงกว่าช่วงที่ผ่านมา ในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๘–๑๐ สังคมไทยได้อัญเชิญหลัก”ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ไปประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวางในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับปัจเจก ครอบครัวชุมชน สังคม จนถึงระดับประเทศ ซึ่งได้มีส่วนเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและช่วยให้สังคมไทยสามารถยืนหยัดอยู่ได้อย่างมั่นคงท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑ ทุกภาคส่วนในสังคมไทยเห็นพ้องร่วมกันน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อมุ่งให้เกิดภูมิคุ้มกันและมีการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสม เพื่อให้การพัฒนาประเทศสู่ความสมดุลและยั่งยืน

ในการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑ ครั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของภาคีการพัฒนาทุกภาคส่วน ทั้งในระดับชุมชน ระดับภาค และระดับประเทศในทุกขั้นตอนของแผนฯ อย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง เพื่อร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์และทิศทางการพัฒนาประเทศ รวมทั้งร่วมจัดทำรายละเอียดยุทธศาสตร์ของแผนฯ เพื่อมุ่งสู่ “สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง”

การพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑ จึงเป็นการนำภูมิคุ้มกันที่มีอยู่ พร้อมทั้งเร่งสร้างภูมิคุ้มกันในประเทศให้เข้มแข็งขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมคน สังคม และระบบเศรษฐกิจของประเทศให้สามารถปรับตัวรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนและสังคมไทยให้มีคุณภาพ มีโอกาสเข้าถึงทรัพยากร และได้รับประโยชน์จากการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างเป็นธรรม รวมทั้งสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจด้วยฐานความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ บนพื้นฐานการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกัน ยังจำเป็นต้องบริหารจัดการแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑ ให้บังเกิดผลในทางปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้หลักการพัฒนาพื้นที่ภารกิจ และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมไทย ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาเพื่อประโยชน์สุขที่ยั่งยืนของสังคมไทยตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

หรือคลิกขวาดาวน์โหลดที่  >>>  Plan11

อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2555

ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง
เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ ๖)

ด้วยคณะกรรมการค่าจ้างได้มีการประชุมศึกษาและพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับอยู่ ประกอบกับข้อเท็จจริงอื่นตามที่กฎหมายกำหนด เมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔และมีมติเห็นชอบให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เพื่อใช้บังคับแก่นายจ้างและลูกจ้างทุกคน

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๙ (๓) และมาตรา ๘๘ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑คณะกรรมการค่าจ้างจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ ๕) ลงวันที่๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓

ข้อ ๒ ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละสามร้อยบาท ในท้องที่กรุงเทพมหานครจังหวัดนครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี ภูเก็ต สมุทรปราการ และสมุทรสาคร

ข้อ ๓ ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละสองร้อยเจ็ดสิบสามบาท ในท้องที่จังหวัดชลบุรี

ข้อ ๔ ให้กำ หนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นเงินวันละสองร้อยหกสิบเก้าบาท ในท้องที่จังหวัดฉะเชิงเทรา และสระบุรี

ข้อ ๕ ให้กำ หนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นเงินวันละสองร้อยหกสิบห้าบาท ในท้องที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ข้อ ๖ ให้กำ หนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นเงินวันละสองร้อยหกสิบสี่บาท ในท้องที่จังหวัดระยอง

ข้อ ๗ ให้กำ หนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นเงินวันละสองร้อยห้าสิบเก้าบาท ในท้องที่จังหวัดพังงา

ข้อ ๘ ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละสองร้อยห้าสิบแปดบาท ในท้องที่จังหวัดระนอง

ข้อ ๙ ให้กำ หนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นเงินวันละสองร้อยห้าสิบเจ็ดบาท ในท้องที่จังหวัดกระบี่

ข้อ ๑๐ ให้กำ หนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นเงินวันละสองร้อยห้าสิบห้าบาท ในท้องที่จังหวัดนครราชสีมา และปราจีนบุรี

ข้อ ๑๑ ให้กำ หนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นเงินวันละสองร้อยห้าสิบสี่บาท ในท้องที่จังหวัดลพบุรี

ข้อ ๑๒ ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละสองร้อยห้าสิบสองบาท ในท้องที่จังหวัดกาญจนบุรี

ข้อ ๑๓ ให้กำ หนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นเงินวันละสองร้อยห้าสิบเอ็ดบาท ในท้องที่จังหวัดเชียงใหม่ และราชบุรี

ข้อ ๑๔ ให้กำ หนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นเงินวันละสองร้อยห้าสิบบาท ในท้องที่จังหวัดจันทบุรี และเพชรบุรี

ข้อ ๑๕ ให้กำ หนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นเงินวันละสองร้อยสี่สิบหกบาท ในท้องที่จังหวัดสงขลา และสิงห์บุรี

ข้อ ๑๖ ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละสองร้อยสี่สิบสี่บาท ในท้องที่จังหวัดตรัง

ข้อ ๑๗ ให้กำ หนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นเงินวันละสองร้อยสี่สิบสามบาท ในท้องที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และอ่างทอง

ข้อ ๑๘ ให้กำ หนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นเงินวันละสองร้อยสี่สิบเอ็ดบาท ในท้องที่จังหวัดชุมพร พัทลุง เลย สตูล และสระแก้ว

ข้อ ๑๙ ให้กำ หนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นเงินวันละสองร้อยสี่สิบบาท ในท้องที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ยะลา สมุทรสงคราม และสุราษฎร์ธานี

ข้อ ๒๐ ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละสองร้อยสามสิบเก้าบาท ในท้องที่จังหวัดนราธิวาส อุดรธานี และอุบลราชธานี

ข้อ ๒๑ ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละสองร้อยสามสิบเจ็ดบาท ในท้องที่จังหวัดนครนายก และปัตตานี

ข้อ ๒๒ ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละสองร้อยสามสิบหกบาท ในท้องที่จังหวัดตราด บึงกาฬ ลำพูน และหนองคาย

ข้อ ๒๓ ให้กำ หนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นเงินวันละสองร้อยสามสิบสี่บาท ในท้องที่จังหวัดกำแพงเพชร และอุทัยธานี

ข้อ ๒๔ ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละสองร้อยสามสิบสามบาท ในท้องที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยนาท และสุพรรณบุรี

ข้อ ๒๕ ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละสองร้อยสามสิบสองบาท ในท้องที่จังหวัดเชียงราย นครสวรรค์ บุรีรัมย์ เพชรบูรณ์ ยโสธร ร้อยเอ็ด และสกลนคร

ข้อ ๒๖ ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละสองร้อยสามสิบบาท ในท้องที่จังหวัดชัยภูมิมุกดาหาร ลำปาง สุโขทัย และหนองบัวลำภู

ข้อ ๒๗ ให้กำ หนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นเงินวันละสองร้อยยี่สิบเก้าบาท ในท้องที่จังหวัดนครพนม

ข้อ ๒๘ ให้กำ หนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นเงินวันละสองร้อยยี่สิบเจ็ดบาท ในท้องที่จังหวัดพิจิตร พิษณุโลก แพร่ มหาสารคาม แม่ฮ่องสอน อำนาจเจริญ และอุตรดิตถ์

ข้อ ๒๙ ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละสองร้อยยี่สิบหกบาท ในท้องที่จังหวัดตากและสุรินทร์

ข้อ ๓๐ ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละสองร้อยยี่สิบห้าบาท ในท้องที่จังหวัดน่าน

ข้อ ๓๑ ให้กำ หนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นเงินวันละสองร้อยยี่สิบสามบาท ในท้องที่จังหวัดศรีสะเกษ

ข้อ ๓๒ ให้กำ หนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นเงินวันละสองร้อยยี่สิบสองบาท ในท้องที่จังหวัดพะเยา

ข้อ ๓๓ เพื่อประโยชน์ตามข้อ ๒ ถึงข้อ ๓๒ คำว่า “วัน” หมายถึง เวลาทำงานปกติของลูกจ้าง ซึ่งไม่เกินชั่วโมงทำงานดังต่อไปนี้ แม้นายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานน้อยกว่าเวลาทำงานปกติเพียงใดก็ตาม(๑) เจ็ดชั่วโมง สำหรับงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้างตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. ๒๕๔๑(๒) แปดชั่วโมง สำหรับงานอื่นซึ่งไม่ใช่งานตาม (๑)

ข้อ ๓๔ ห้ามมิให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างเป็นเงินแก่ลูกจ้างน้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำข้อ ๓๕ ประกาศคณะกรรมการค่าจ้างฉบับนี้ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายนพ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป

(เล่ม ๑๒๘ ตอนพิเศษ ๑๔๔ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๔)

ประกาศ ณ วันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔

สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์
ปลัดกระทรวงแรงงานประธานกรรมการค่าจ้าง

Download >>> Minimum Wage 2555